วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562

                                           อนุทินที่ 3


แบบฝึกหัดที่ 2
1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ คณะราษฎร์เป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก เหตุผลที่ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐภิบาล นโยบายสามารถนำประเทศของตนในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นเห็นชอบในการจรรดลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า”
2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
          ตอบ    หมวด แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนี้
                   มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรง และอาณามัยสมบูรณ์ มีความรู้ ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
                   มาตรา 63 การส่งเสริมบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ การอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
                   มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาล ที่จะต้องจัดให้โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
                   มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญ ฯ พุทธศักราช 2511พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
          ตอบ แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญ ฯ พุทธศักราช 2511พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 มีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนไป ดังนี้
          รัฐธรรมนูญ ฯ พุทธศักราช 2517 ได้กำหนดไว้ดังนี้
          มาตรา 59 การส่งเสริมบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ การอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
          มาตรา 60 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาล ที่จะต้องจัดให้โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
          มาตรา 61 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาล ที่จะต้องจัดให้โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควน
           รัฐธรรมนูญ ฯ พุทธศักราช 2517 ได้กำหนดไว้ดังนี้
           มาตรา 72 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ
          การศึกษาอบรมขั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
          สถานศึกษาของรัฐและของท้องถิ่น พึงให้ความเสมอภาคแก่บุคคล ในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
          มาตรา 73 การศึกษาอบรมภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและของท้องถิ่น จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆ ในการศึกษาอบรมทุกระดับตามสมควร
          จากบทบัญญัติในมาตราดังกล่าว จะเห็นว่ามีสาระเช่นเดียวกับมาตรา 63 และมาตรา 64 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 ดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ได้เพิ่มเติมเรื่องความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของแต่ละบุคคลและได้ขยายแนวนโยบายที่จะช่วยเหลือให้นักเรียนได้อุปกรณ์การศึกษา เพราะอาจเป็นเงินทุนการศึกษาหรือปัจจัยอย่างอื่นที่ใช้ในการศึกษาอบรม
          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ได้กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐในด้านการศึกษาไว้ในมาตรา 60 และมาตรา 62 ดังนี้
          มาตรา 60 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ
          การจัดการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวง ย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ
          รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆ ในการศึกษาอบรม และการฝึกอาชีพ
          การศึกษาอบรมภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐ จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
          การศึกษาอบรมขั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้โดยอิสระภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
          มาตรา 62 รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนของชาติ ให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมและเพื่อความมั่นคงของรัฐ
          จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับนี้ได้รวบรวมหลักสำคัญของแนวนโยบายการศึกษาที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับก่อน ๆ มาไว้ในมาตราเดียวกัน จึงเหมือนกับว่านำมาตรา 72 และมาตรา 73 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 ที่กล่าวมาแล้ว มารวบรวมไว้ในมาตรา 60 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 เพียงแต่ได้ขยายความไว้ในวรรคแรกว่า "รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม และการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ" จึงเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับนี้ได้มีแนวนโยบายในด้านการฝึกอาชีพเพิ่มขึ้นมาด้วย ส่วนในมาตรา 62 ได้บัญญัติถึงแนวนโยบายการพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมและเพื่อความมั่นคงของรัฐก็ถือว่าเน้นการพัฒนาด้านร่างกาย สุขภาพอนามัย ด้านจิตใจ สติปัญญา เหมือนกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 จึงทำให้นโยบายด้านการศึกษาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

4. ประเด็นที่ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2549-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
          ตอบ ประเด็นที่ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 และประเด็นที่ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 มีความแตกต่างกันตรงที่ ประเด็นที่ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากนัก มีมาตราที่เกี่ยวข้อง เพียง หมวด มาตรา โดยกล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพ ในการพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ อย่างรวมๆ แต่ประเด็นที่ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยละเอียดมากขึ้น โดยเขียนแบ่งออกเป็น หมวด มาตรา แต่ละมาตราจะเขียนกำกับไว้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า บุคคลจะมีสิทธิและเสรีภาพได้แค่เพียงขั้นไหน และยังได้กล่าวถึงนโยบายที่รัฐจะต้องให้การสนับสนุนทางการศึกษาเพิ่มขึ้น
5. ประเด็นที่ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-4550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
          ตอบ ประเด็นที่ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 และประเด็นที่ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 มีความเหมือนกันค่อนข้างมาก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ประเด็นที่ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ได้มีการกล่าวถึงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และยังได้กล่าวถึง การส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนองค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเพิ่มขึ้น
6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
          ตอบ เพราะหากรัฐไม่ได้ระบุถึงการจัดการศึกษาที่เป็นธรรมและทั่วถึงแล้ว จะทำให้คนในประเทศเกิดความเหลื่อมล้ำกันทางการศึกษา บุคคลกลุ่มหนึ่งจะได้รับความรู้ความก้าวหน้าในด้านต่างๆ รอบตัวตลอดเวลา แต่บุคคลอีกกลุ่มหนึ่งจะไม่สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นได้เลย หากรัฐไม่เข้ามาช่วยเหลือและเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านั้นได้รับการศึกษาอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม
7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
          ตอบ เมื่อรัฐมีการกำหนดให้บุคคลทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพทางการศึกษาแล้ว รัฐจะต้องมีการกำกับเงื่อนไข และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติขึ้นควบคู่ไว้ด้วย เพื่อป้องกันการศึกษาที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกไม่ควร อันจะส่งผลกระทบต่อประเทศชาติไปในทางที่ไม่ดี หากมีบุคคลทำการศึกษาและให้ความจิงจังในการลงมือปฏิบัติ หรือการรวมกลุ่มกันเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร
          ตอบ หากมีการเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น จะส่งผลให้คนในประเทศได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน และมีความทั่วถึงยิ่งขึ้น เพราะในส่วนของรัฐเอง คงจะไม่สามารถที่จะลงมาให้ความช่วยเหลือกับบุคคลที่อยู่ในส่วนท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ แต่หากมีการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่ได้ช่วยเหลือดูแลกันในด้านการศึกษาจะทำให้บุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์ที่ทั่วถึงมากกว่า
9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผนของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชนสังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
          ตอบ เพื่อให้ทุกคนในประเทศได้รับความเท่าเทียมกันทุกคน แม้ว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีสถานภาพทางสังคมที่ด้อยกว่าผู้อื่น หรือมีวุฒิภาวะที่แตกต่างกันก็ตามทุกคนล้วนมีสิทธิและเสรีภาพ รัฐจึงต้องเข้าไปช่วยเหลือและให้ความคุ้มครอง พัฒนาและส่งเสริมให้มากขึ้นยิ่งกว่าบุคคลปกตินั้นเอง
10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
          ตอบ ผลจากการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศคือ ประชาชนได้รับการศึกษา ได้มีความรู้ในการประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้คนในชาติ ได้ทำให้ประชาชนมีการเปิดกว้างทางการศึกษาในการพบบุคคลประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ที่มี ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติได้จริงมากยิ่งขึ้น ทำให้ได้รับความรู้เชิงประสบการณ์มากกว่าการศึกษาแต่ภายในห้องเรียน

                                          อนุทินที่ 2

แบบฝึกหัดบทที่ 1

1.      ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ สังคมจะมีแต่ความขัดแย้ง สับสน วุ่นวาย เกิดความโกลาหล ทุกคนได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากทุกคนทำตามความต้องการของตัวเองโดยไม่สนใจคนรอบข้าง

2.      ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ สังคมปัจจุบันจะอยู่ไม่ได้หากไม่มีกฎหมาย เพราะกฎหมายสร้างขึ้นเพื่อควบคุมพฤติกรรมและความขัดแย้งของมนุษย์ รักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ ถ้าหากไม่มีกฎหมายมาเป็นบรรทัดฐานในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดแต่เหตุทะเลาะวิวาท จนไม่มีใครรู้ผิดรู้ถูกได้

3.      ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก.       ความหมาย
ตอบ กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
ข.       ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ตอบ ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมายมี 4ประการ คือ
1.       เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด อาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้ เช่น รัฐสภา ตราพระราชบัญญัติ คณะรัฐมนตรี ตราพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา คณะปฏิวัติ ออกคำสั่ง หรือประกาศคณะปฏิวัติต่าง ๆ ถือว่าเป็นกฎหมาย
2.       มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย สำหรับคำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นต้น
3.       ใช้บังคับกับทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ใช้บังคับผู้ที่มีเงินได้ แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้ การแจ้งคนเกิดภายใน 15 วัน แจ้งคนตายภายใน 24 ชั่วโมง ยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี เข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจำการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี เป็นต้น
4.       มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้น การกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญาปรับจำคุก กักขัง ริบทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่ง ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าเสียหายทดแทน หรือค่าเสียหายชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เช่น บังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย บังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเป็นต้น
ค.       ที่มาของกฎหมาย
ตอบ      1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร เช่น กฎหมายประมวลรัษฎากร รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ซึ่งกฎหมายดังกล่าว ผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
              2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปปฏิบัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไม่เป็นกฎหมาย
                3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย เป็นต้น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
               4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
              5.ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้นหรือไม่
           ง. ประเภทกฎหมาย
          ตอบ ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
                             
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                             
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                             
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
          
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
          
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
          
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
          4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
              ตอบ มีความคิดเห็นที่ว่า ในทุก ๆ ประเทศจะต้องมีกฎหมายนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ถูก เพราะการอยู่ ร่วมกันในสังคมมนุษย์ทุกคนต่างมีมีความคิดที่แตกต่างกันอยู่แล้ว ซึ่งจะนำไปสู่การขัดแย้ง ทะเลาะวิวาทได้ถ้าหากไม่มีกฎหมายมาควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมนั้น ๆ
          
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ สภาพบังคับในทางกฎหมาย เป็นการบังคับในการอยู่ร่วมกันสำหรับคนหมู่มาก ที่จะเป็นตัว ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมนั้น ๆ ให้เกิดความสงบสุข ลดความขัดแย้งของมนุษย์
          6.สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
          ตอบกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 
18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์ สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
                   กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้ สำหรับการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆีกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
          
7.ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
          
ตอบ ระบบกฎหมายหลักๆในโลกนี้มีอยู่ 4 ระบบใหญ่ๆด้วยกัน คือ
                    1.ระบบกฎหมายซีวิลลอว์(
Civil Law) หรือก็คือระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายนี้จะมีลักษณะเป็นการรวมรวมเอาจารีตประเพณีหรือกฎหมายต่างๆหรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่ โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็น
                    2.ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์(
Common Law) หรือก็คือระบบกฎหมายจารีตประเพณี จุดกำเนิดอยู่ที่อังกฤษ ในระบบคอมมอน ลอว์แต่เดิมจะไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อศาลใช้จารีตประเพณีในการพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ก็จะมีการบันทึกคำพิพากษานั้นเอาไว้ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีต่อๆไป หาข้อเท็จจริงในคดีต่อๆมาเหมือนกับคดีก่อน ศาลก็จะพิพากษาไปตามที่ได้มีการบันทึกไว้แล้ว ถือได้ว่าคำพิพากษาของศาลก็คือกฎหมาย         
               3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม(Socialist Law) จุดกำเนิดของระบบกฎหมายอยู่ที่รัสเซีย แต่เดิมรัสเซียใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ แต่ในภายหลังเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ครองอำนาจ ก็ได้มีการนำหลักการและแนวความคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน มาใช้โดยเชื่อว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือในการขัดระเบียบและกลไกในสังคม เพื่อให้คนในสังคมมีความเท่าเทียมกัน
                  4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม ลักษณะของกฎหมายในระบบนี้ โดยเนื้อหาของกฎหมายแล้วก็จะอาศัยศาสนาหรือประเพณีนิยมเป็นฐานในการบัญญัติกฎหมายขึ้นมา เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามกำหนดหน้าที่ของชาวมุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า
           
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง              ตอบ ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่ง ดังนี้
                           แบ่งโดยแหล่งกำเนิด แบ่งออกได้เป็น 
ประเภท คือ กฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก กฎหมายภายภายใน
                                     กฎหมายภายใน มีหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็นกฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็นกฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                                      กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์
                               ประเภทของกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยมี 
ประเภท ดังนี้
                                      ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
                                   1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                                   2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                                   3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ                                                  4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
                                   1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
                                   2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
                                   3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา           9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
              ตอบศักดิ์ของกฎหมายคือ เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน
                      หลักในการแบ่งคือ กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้ โดยจะพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย
          
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
              ตอบ จากเหตุการณ์ข้างต้นรัฐบาลไม่ผิดที่จะขัดขวางการชุมนุม เนื่องจากถ้าหากไม่ขัดขวางอาจจะส่งผลทำให้ประชาชนทุกคนได้รับความเดือดร้อน และเจ็บตัวไม่มากก็น้อย
          
 
            11.ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
                ตอบ กฎหมายการศึกษาคือ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้
          
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง
                ตอบ กฎหมายการศึกษา เป็นข้อบังคับใช้ที่จะต้องปฏิบัติตามการกำหนดบทลงโทษ ซึ่งถ้าหากเราไปเป็นครูที่ไม่ทราบกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติส่งผลทำให้การประพฤติปฏิบัติผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และอื่น ๆ ได้

อนุทินที่ 1

ชื่อ - สกุล: นายกษิดิศ พิบูลย์
ชื่อเล่น: แซม/Sam
วัน/เดือน/ปีเกิด: 29 พฤศจิกายน 2539
ที่อยู่: 226  ม.3 ต.เขาพระ  อ.พิปูน  จ.นครศรีธรรมราช 80270
งานอดิเรก: ดูหนัง  ฟังเพลง  เล่นเกม
คติประจำใจ : Don't judge a book by its cover.
อุดมการณ์ความเป็นครู: มีความตั้งใจที่อยากจะทำให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ และเรียนรู้อย่างมีความสุข

เป้าหมาย: อยากให้นักเรียนทุกคนมองถึงอนาคตของตัวเองเป็นสำคัญ