อนุทินที่ 2
แบบฝึกหัดบทที่ 1
1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ สังคมจะมีแต่ความขัดแย้ง สับสน วุ่นวาย เกิดความโกลาหล ทุกคนได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากทุกคนทำตามความต้องการของตัวเองโดยไม่สนใจคนรอบข้าง
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ สังคมปัจจุบันจะอยู่ไม่ได้หากไม่มีกฎหมาย เพราะกฎหมายสร้างขึ้นเพื่อควบคุมพฤติกรรมและความขัดแย้งของมนุษย์ รักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ ถ้าหากไม่มีกฎหมายมาเป็นบรรทัดฐานในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดแต่เหตุทะเลาะวิวาท จนไม่มีใครรู้ผิดรู้ถูกได้
3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย
ตอบ กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ตอบ ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมายมี 4ประการ คือ
1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด อาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้ เช่น รัฐสภา ตราพระราชบัญญัติ คณะรัฐมนตรี ตราพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา คณะปฏิวัติ ออกคำสั่ง หรือประกาศคณะปฏิวัติต่าง ๆ ถือว่าเป็นกฎหมาย
2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย สำหรับคำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นต้น
3. ใช้บังคับกับทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ใช้บังคับผู้ที่มีเงินได้ แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้ การแจ้งคนเกิดภายใน 15 วัน แจ้งคนตายภายใน 24 ชั่วโมง ยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี เข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจำการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี เป็นต้น
4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้น การกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญาปรับจำคุก กักขัง ริบทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่ง ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าเสียหายทดแทน หรือค่าเสียหายชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เช่น บังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย บังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเป็นต้น
ค. ที่มาของกฎหมาย
ตอบ 1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร เช่น กฎหมายประมวลรัษฎากร รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ซึ่งกฎหมายดังกล่าว ผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปปฏิบัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไม่เป็นกฎหมาย
3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย เป็นต้น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5.ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้นหรือไม่
ง. ประเภทกฎหมาย
ตอบ ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ มีความคิดเห็นที่ว่า ในทุก ๆ ประเทศจะต้องมีกฎหมายนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ถูก เพราะการอยู่ ร่วมกันในสังคมมนุษย์ทุกคนต่างมีมีความคิดที่แตกต่างกันอยู่แล้ว ซึ่งจะนำไปสู่การขัดแย้ง ทะเลาะวิวาทได้ถ้าหากไม่มีกฎหมายมาควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมนั้น ๆ
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ สภาพบังคับในทางกฎหมาย เป็นการบังคับในการอยู่ร่วมกันสำหรับคนหมู่มาก ที่จะเป็นตัว ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมนั้น ๆ ให้เกิดความสงบสุข ลดความขัดแย้งของมนุษย์ 6.สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์ สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้ สำหรับการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆีกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
7.ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ระบบกฎหมายหลักๆในโลกนี้มีอยู่ 4 ระบบใหญ่ๆด้วยกัน คือ
1.ระบบกฎหมายซีวิลลอว์(Civil Law) หรือก็คือระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายนี้จะมีลักษณะเป็นการรวมรวมเอาจารีตประเพณีหรือกฎหมายต่างๆหรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่ โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็น
2.ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์(Common Law) หรือก็คือระบบกฎหมายจารีตประเพณี จุดกำเนิดอยู่ที่อังกฤษ ในระบบคอมมอน ลอว์แต่เดิมจะไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อศาลใช้จารีตประเพณีในการพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ก็จะมีการบันทึกคำพิพากษานั้นเอาไว้ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีต่อๆไป หาข้อเท็จจริงในคดีต่อๆมาเหมือนกับคดีก่อน ศาลก็จะพิพากษาไปตามที่ได้มีการบันทึกไว้แล้ว ถือได้ว่าคำพิพากษาของศาลก็คือกฎหมาย
3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม(Socialist Law) จุดกำเนิดของระบบกฎหมายอยู่ที่รัสเซีย แต่เดิมรัสเซียใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ แต่ในภายหลังเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ครองอำนาจ ก็ได้มีการนำหลักการและแนวความคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน มาใช้โดยเชื่อว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือในการขัดระเบียบและกลไกในสังคม เพื่อให้คนในสังคมมีความเท่าเทียมกัน
4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม ลักษณะของกฎหมายในระบบนี้ โดยเนื้อหาของกฎหมายแล้วก็จะอาศัยศาสนาหรือประเพณีนิยมเป็นฐานในการบัญญัติกฎหมายขึ้นมา เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามกำหนดหน้าที่ของชาวมุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ตอบ ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่ง ดังนี้
แบ่งโดยแหล่งกำเนิด แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ กฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก กฎหมายภายภายใน
กฎหมายภายใน มีหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็นกฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็นกฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์
ประเภทของกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยมี 2 ประเภท ดังนี้
ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ 4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา 9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบศักดิ์ของกฎหมายคือ เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน
หลักในการแบ่งคือ กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้ โดยจะพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ จากเหตุการณ์ข้างต้นรัฐบาลไม่ผิดที่จะขัดขวางการชุมนุม เนื่องจากถ้าหากไม่ขัดขวางอาจจะส่งผลทำให้ประชาชนทุกคนได้รับความเดือดร้อน และเจ็บตัวไม่มากก็น้อย
11.ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กฎหมายการศึกษาคือ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง
ตอบ กฎหมายการศึกษา เป็นข้อบังคับใช้ที่จะต้องปฏิบัติตามการกำหนดบทลงโทษ ซึ่งถ้าหากเราไปเป็นครูที่ไม่ทราบกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติส่งผลทำให้การประพฤติปฏิบัติผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และอื่น ๆ ได้
ตอบ ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
ตอบ มีความคิดเห็นที่ว่า ในทุก ๆ ประเทศจะต้องมีกฎหมายนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ถูก เพราะการอยู่ ร่วมกันในสังคมมนุษย์ทุกคนต่างมีมีความคิดที่แตกต่างกันอยู่แล้ว ซึ่งจะนำไปสู่การขัดแย้ง ทะเลาะวิวาทได้ถ้าหากไม่มีกฎหมายมาควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมนั้น ๆ
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ สภาพบังคับในทางกฎหมาย เป็นการบังคับในการอยู่ร่วมกันสำหรับคนหมู่มาก ที่จะเป็นตัว ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมนั้น ๆ ให้เกิดความสงบสุข ลดความขัดแย้งของมนุษย์ 6.สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์ สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้ สำหรับการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆีกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
7.ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ระบบกฎหมายหลักๆในโลกนี้มีอยู่ 4 ระบบใหญ่ๆด้วยกัน คือ
1.ระบบกฎหมายซีวิลลอว์(Civil Law) หรือก็คือระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายนี้จะมีลักษณะเป็นการรวมรวมเอาจารีตประเพณีหรือกฎหมายต่างๆหรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่ โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็น
2.ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์(Common Law) หรือก็คือระบบกฎหมายจารีตประเพณี จุดกำเนิดอยู่ที่อังกฤษ ในระบบคอมมอน ลอว์แต่เดิมจะไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อศาลใช้จารีตประเพณีในการพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ก็จะมีการบันทึกคำพิพากษานั้นเอาไว้ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีต่อๆไป หาข้อเท็จจริงในคดีต่อๆมาเหมือนกับคดีก่อน ศาลก็จะพิพากษาไปตามที่ได้มีการบันทึกไว้แล้ว ถือได้ว่าคำพิพากษาของศาลก็คือกฎหมาย
4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม ลักษณะของกฎหมายในระบบนี้ โดยเนื้อหาของกฎหมายแล้วก็จะอาศัยศาสนาหรือประเพณีนิยมเป็นฐานในการบัญญัติกฎหมายขึ้นมา เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามกำหนดหน้าที่ของชาวมุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ตอบ ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่ง ดังนี้
แบ่งโดยแหล่งกำเนิด แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ กฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก กฎหมายภายภายใน
กฎหมายภายใน มีหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็นกฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็นกฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์
ประเภทของกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยมี 2 ประเภท ดังนี้
ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
ตอบศักดิ์ของกฎหมายคือ เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน
หลักในการแบ่งคือ กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้ โดยจะพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ จากเหตุการณ์ข้างต้นรัฐบาลไม่ผิดที่จะขัดขวางการชุมนุม เนื่องจากถ้าหากไม่ขัดขวางอาจจะส่งผลทำให้ประชาชนทุกคนได้รับความเดือดร้อน และเจ็บตัวไม่มากก็น้อย
ตอบ กฎหมายการศึกษาคือ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง
ตอบ กฎหมายการศึกษา เป็นข้อบังคับใช้ที่จะต้องปฏิบัติตามการกำหนดบทลงโทษ ซึ่งถ้าหากเราไปเป็นครูที่ไม่ทราบกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติส่งผลทำให้การประพฤติปฏิบัติผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และอื่น ๆ ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น